วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อักษรย่อ

        
อักษรย่อ หมายถึงตัวอักษรที่ใช้เขียนย่อคำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกในการเขียน โดยการเขียนอักษณย่อจะต้องใช้เครื่องหมายมหัพภาค หรือ จุด (.) ไว้ท้ายอักษรย่อด้วย หลักเกณฑ์ในการเขียนอักษรย่อ มีดังนี้

๑. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์เเรกของคำเป็นตัวย่อ
   ๑.๑ ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์เเรกของคำเป็นตัวย่อ
    - ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้อักษรย่อตัวเดียว แม้ว่าคำคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม เช่น
    วา ใช้อักษรย่อ ว.                          จังหวัด ใช้อักษรย่อ จ.
    นาฬิกา ใช้อักษรย่อ น.                    ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ.
    เมตร ใช้อักษรย่อ ม.                       อาจารย์ ใช้อักษรย่อ อ.
   ๒.๒ ถ้าใช้ตัวย่อเพีงตัวเดียว แล้วทำให้เกิดความสัยสน และอาจซ้ำกัน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์หรือคำถัดไปเป็นอักษรย่อ เช่น
    ตำรวจ ใช้อักษรย่อ ตร.                   กิโลกรัม ใช้อักษรย่อ กก.
    นักเรียน ใช้อักษรย่อ นร.                  เซนติเมตร ใช้อักษรย่อ ซม.

๒. ถ้าคำที่จะนำพยัญชนะต้นมาใช้ป็นอักษรย่อ มี ห นำ ให้ใช้พยัญชนะที่อยู่หลัง ห เป็นอักษรย่อ เช่น
    เด็กหญิง ใช้อักษรย่อ ด.ญ.              สารวัตรใหญ่ ใช้อักษณย่อ สวญ.
    หนังสือพิมพ์ ใช้อักษรย่อ นสพ.           ทางหลวง ใช้อักษรย่อ ทล.

๓. คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรนำ (ที่ไม่ใช่ ห นำ) หรือคำควบกล้ำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว เช่น
     ประถมศึกษา ใช้อักษรย่อ ป.            ถนน ใช้อักษรย่อ ถ.
     กรัม ใช้อักษรย่อ ก.

๔. การเขียนอักษรย่อจะต้องมี . (มหัพภาค) กำกับเสมอ เช่น
     จักรยานยนตร์ ใช้อักษรย่อ จยย.        เมษายน ใช้อักษรย่อ เม.ย.
     มีนาคม ใช้อักรย่อ มี.ค.                   พุทธศักราช ใช้อักษรย่อ พ.ศ.

๕. เวลาเขียนอักษรย่อรวมกับประโยคหรือข้อความอื่นๆ ให้เขียนเว้นวรรคหน้าเเละหลังอักษณย่อทุกครั้ง เช่น
      กทม. ในประโยคเขียน มีข่าวจาก กทม. ว่า

๖. เวลาเขียนอักษรย่อร่วมกันหลายๆ คำ ให้เขียนเว้นวรรคระหว่างกลุ่มของอักษรย่อ เช่น
      ศ. นพ. (ศาสตราจารย์นายเเพทย์)      ศ. ดร. (ศาสตราจารย์ดอกเตอร์)
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๕. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น