วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำควบกล้ำ

บท อักษรควบกล้ำ คำควบไม่แท้
ศักดิ์ศรีมิเศร้าสร้อย ต้นไทรย้อยใกล้สระสวย
เลวทรามเสแสร้งรวย ทราบเรื่องจริงยิ่งศรัทธา
ส่งเสริมไม่กำสรวล เสร็จงานควรสรรเสริญหนา
จริงไซร้ไม้พุทรา บ้านเศรษฐีมีกองทราย
ประเสริฐทราบเรื่องดี นกอินทรีทรัพย์มีหลาย
กำสรดหมดสบาย กายทรุดโทรมโรคแทรกแซง
กลอนอักษรควบกล้ำ คำควบไม่แท้

บทกลอนอักษรควบ คล ควบกล้ำ
ลำคลองสอดคล้องกัน
คลอเคลียมันเคลื่อนคล้อยไป
คลุกเคล้าเข้ากันไว้
เขาคล่องแคล่วไม่คลาดคลา
ปูปลาดูคลาคล่ำ
คนผิวคล้ำคลำหาปลา
คละคลุ้งกลิ่นฟุ้งมา
อย่าคลางแคลงมาคลุกคลี
ไฟคลอกเรือนสั่นคลอน
คลื่นลมร้อนปกคลุมที่
คลั่งไคล้มักไม่ดี
คนใกล้คลอดช่างคล้ายคลึง
(หมายเหตุ : ตามปกติกาพย์ยานี 11 วรรคหน้าและวรรคหลังจะพิมพ์อยู่ด้วยกันนะครับ เพราะเป็นบาทเดียวกันนะครับ ผมพิมพ์ไม่ถูกหลักการจึงต้องขออภัยด้วยครับ…)

ที่มา:http://www.bankrunu.com/?p=1498

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล บุคคลผู้ที่พูดต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย
จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระสงฆ์
4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
5. สุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์แบ่งได้  6 หมวด คือ
1. หมวดร่างกาย
2. หมวดเครือญาติ
3. หมวดเครื่องใช้
4. หมวดกริยา
5. หมวดสรรพนาม
6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
หมวดร่างกาย

หมวดเครือญาติ   

หมวดเครื่องใช้

หมวดคำกริยา

หมวดสรรพนาม

หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์


คำสุภาพ
คำที่เหมาะใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน



ข้อสังเกต
เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์
คำนาม
1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ
ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ
พระบรมราชูปถัมภ์
พระบรมมหาราชวัง
พระบรมวงศานุวงศ์
2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง
พระราชลัญจกร
พระราชประวัติ
พระราชดำริ
พระราชทรัพย์
3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง
พระเก้าอี้
พระชะตา
พระโรค
พระตำหนัก
4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน
ยกเว้น

คำกริยา


กริยา คำว่า “ทรง”
คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า
ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร     หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
    ทรงหงส์            หมายถึง พระพรหม
    ทรงโค              หมายถึง พระอิศวร
    ทรงครุฑ            หมายถึง พระนารายณ์
คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง
คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์  ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง
คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร     หมายถึง ใส่บาตร
    ทรงม้า        หมายถึง ขี่ม้า
    ทรงกรม        หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม
คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1252

อักษรย่อ

        
อักษรย่อ หมายถึงตัวอักษรที่ใช้เขียนย่อคำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกในการเขียน โดยการเขียนอักษณย่อจะต้องใช้เครื่องหมายมหัพภาค หรือ จุด (.) ไว้ท้ายอักษรย่อด้วย หลักเกณฑ์ในการเขียนอักษรย่อ มีดังนี้

๑. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์เเรกของคำเป็นตัวย่อ
   ๑.๑ ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์เเรกของคำเป็นตัวย่อ
    - ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้อักษรย่อตัวเดียว แม้ว่าคำคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม เช่น
    วา ใช้อักษรย่อ ว.                          จังหวัด ใช้อักษรย่อ จ.
    นาฬิกา ใช้อักษรย่อ น.                    ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ.
    เมตร ใช้อักษรย่อ ม.                       อาจารย์ ใช้อักษรย่อ อ.
   ๒.๒ ถ้าใช้ตัวย่อเพีงตัวเดียว แล้วทำให้เกิดความสัยสน และอาจซ้ำกัน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์หรือคำถัดไปเป็นอักษรย่อ เช่น
    ตำรวจ ใช้อักษรย่อ ตร.                   กิโลกรัม ใช้อักษรย่อ กก.
    นักเรียน ใช้อักษรย่อ นร.                  เซนติเมตร ใช้อักษรย่อ ซม.

๒. ถ้าคำที่จะนำพยัญชนะต้นมาใช้ป็นอักษรย่อ มี ห นำ ให้ใช้พยัญชนะที่อยู่หลัง ห เป็นอักษรย่อ เช่น
    เด็กหญิง ใช้อักษรย่อ ด.ญ.              สารวัตรใหญ่ ใช้อักษณย่อ สวญ.
    หนังสือพิมพ์ ใช้อักษรย่อ นสพ.           ทางหลวง ใช้อักษรย่อ ทล.

๓. คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรนำ (ที่ไม่ใช่ ห นำ) หรือคำควบกล้ำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว เช่น
     ประถมศึกษา ใช้อักษรย่อ ป.            ถนน ใช้อักษรย่อ ถ.
     กรัม ใช้อักษรย่อ ก.

๔. การเขียนอักษรย่อจะต้องมี . (มหัพภาค) กำกับเสมอ เช่น
     จักรยานยนตร์ ใช้อักษรย่อ จยย.        เมษายน ใช้อักษรย่อ เม.ย.
     มีนาคม ใช้อักรย่อ มี.ค.                   พุทธศักราช ใช้อักษรย่อ พ.ศ.

๕. เวลาเขียนอักษรย่อรวมกับประโยคหรือข้อความอื่นๆ ให้เขียนเว้นวรรคหน้าเเละหลังอักษณย่อทุกครั้ง เช่น
      กทม. ในประโยคเขียน มีข่าวจาก กทม. ว่า

๖. เวลาเขียนอักษรย่อร่วมกันหลายๆ คำ ให้เขียนเว้นวรรคระหว่างกลุ่มของอักษรย่อ เช่น
      ศ. นพ. (ศาสตราจารย์นายเเพทย์)      ศ. ดร. (ศาสตราจารย์ดอกเตอร์)
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๕. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์